กล้วยน้ำว้า ต้นไม้ที่มีแต่ให้
เราเห็นกล้วยน้ำว้าในที่ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะในงานบวช งานแต่ง ใช้ทำกระทง บายศรี หรือทำเป็นอาหารรับประทาน แต่กล้วยน้ำว้าที่เราคุ้นเคยนี้ มีดีหลายอย่างที่คุณอาจไม่เคยรู้: ผลกล้วยน้ำไว้ดิบ: เต็มไปด้วยสารแทนนิน ซึ่งช่วยสำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะ เป็นแผลในกระเพาะ และลำไส้ได้เป็นอย่างดี อาจจะใช้วิธีการกินกล้วยน้ำว้าห่ามๆ 1 ลูก ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง หรือ แค่ฝานกล้วยน้ำว้าดิบเป็นแว่นบางๆ นำไปตากแดดจัดๆ 2 วัน จนแห้งกรอบ แล้วนำมาตำเป็นผงละเอียด เก็บใส่กระปุก ชงดื่มกับน้ำ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร และก่อนนอนครึ่งชั่วโมง ผลกล้วยน้ำว้าสุก: เต็มไปด้วยแม็กนีเซียม โพแทสเซียม และมิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี ซี และเอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และป้องกันความดันโลหิตสูงอีกด้วย ผลกล้วยน้ำว้าที่สุกจัด: ช่วยรักษาอาการมือ เท้าแตก ทำง่ายๆ แค่นำกล้วยสุกจัดมา 1 ผล นำไม้ปลายแหลมเจาะรูเล็กๆ 4-5 รูที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วบีบผลกล้วย จนได้น้ำออกมาจากรู นำน้ำที่ได้นั้นทาบริเวณที่เกิดอาการผิวหนังแตก ทิ้งไว้ได้หลายชั่วโมงจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น แล้วล้างออก หัวปลี: ส่วนที่มีธาตุเหล็กสูงมาก ใช้ปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย และรักษาอาการเลือดจางได้ น้ำต้นกล้วย: ยาเคลือบกระเพาะจากธรรมชาติที่ดีที่สุด เพียงแค่นำช้อนโต๊ะสั้นที่เราใช้ทานอาหาร ใช้ด้ามจับแทงเข้าไปในต้นกล้วย บิดซ้าย-ขวา เล็กน้อยจนกว่าจะมีน้ำไหลออกมา รอให้เต็มช้อน ใช้ดื่ม 1 ช้อนโต๊ะ ครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร จะช่วยบรรเทาอาหารแสบกระเพาะและแผลในทางเดินอาหารได้ดีเยี่ยม
เริ่มต้น: ถาม-ตอบทั่วไปเกี่ยวสมุนไพร
พืชและสมุนไพร
ใบย่านาง (Tiliacora Triandra)
เชียงดา (Gymnema Sylvestre)
ดอกเก็กฮวย (Dendranthema Grandiflora)
ดอกสายน้ำผึ้ง (Lonicera)
ใบเตย (Pandanus Amaryllifolius)
ใบบัวบก (Centella Asiatica)
ฟักข้าว (Momordica Cochinchinensis)
ว่านรางจืด (Thumbergia Laurifolia Lindl.)
สมอไทย (Terminalia Chebula)
หญ้าปักกิ่ง (Murdannia Loriformis)
หญ้าหวาน (Stevia Rebaudiana Bertoni)
น้ำด่างอัลคาไลน์ (Alkaline Water)
เพิ่มเติม: รอบๆ บ้าน: อาหารที่กินดี มีประโยชน์
กล้วยน้ำว้า
มะละกอ
ว่านหางจระเข้
ส้มโอ